วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555

แผ่นดินไหวในประเทศไทย 10 ปีที่ผ่านมา

 
 
 

สถิติการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทย

   25เมษายน 2545  อ.สารภี  จ.เชียงใหม่    ขนาด 2.2  ริคเตอร์
   27เมษายน 2545  อ.สันกำแพง  อ.สารภี อ.เมือง  จ.เชียงใหม่  ขนาด  3.2  ริคเตอร์
   8  พฤษภาคม  2545  อ.แม่สรวย  อ.เมือง   จ.เชียงราย  ขนาด  2.0  ริคเตอร์
   19 พฤษภาคม  2545  อ.สารภี จ.เชียงใหม่  ขนาด  2.0 ริคเตอร์
   2 กรกฎาคม  2545  อ.เชียงแสน  อ.เมือง จ.เชียงราย  อ.เมือง จ.พะเยา อ.เมือง จ.น่าน ขนาด4.7ริคเตอร์
   18 ธันวาคม  2545  อ.เชียงดาว  จ.เชียงใหม่   ขนาด 4.3 ริคเตอร์
   26 กุมภาพันธ์ 2546  อ.เชียงแสน  จ.เชียงราย  ขนาด 3.0 ริคเตอร์
   23 สิงหาคม  2546  อ.ดอยสะเก็ด  อ.สันกำแพง  จ.เชียงใหม่   ขนาด 2.5 ริคเตอร์
   3 กุมภาพันธ์ 2547  อ.สันทราย  อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่  ขนาด 1.9  ริคเตอร์
   27 มีนาคม 2547  อ.แม่สรวย จ.เชียงราย  ขนาด 3.4 ริคเตอร์
   6 เมษายน 2547  อ.เมือง จ.เชียงราย  ขนาด 3.1 ริคเตอร์
   30  พฤษภาคม  2547  อ.สันทราย  จ.เชียงใหม่  ขนาด 2.0 ริคเตอร์
   5 มิถุนายน 2548  อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์  ขนาด 2.8 ริคเตอร์
   4 ธันวาคม 2548  จ.เชียงใหม่  ขนาด 4.1 ริคเตอร์
   7ธันวาคม  2548  อ.แม่สรวย  จ.เชียงใหม่  ขนาด 3.9 ริคเตอร์
   15ธันวาคม  2548  อ.เมือง อ.เทิง จ.เชียงราย ขนาด 4.1 ริคเตอร์
   16ธันวาคม 2548  อ.ป่าแดด  จ.เชียงราย  ขนาด 3.9 ริคเตอร์
   16มีนาคม 2549  อ.จอมทอง  จ.เชียงใหม่  ขนาด 3.0 ริคเตอร์
   13ธันวาคม 2549  อ.แม่ริม  จ.เชียงใหม่   ขนาด 5.1 ริคเตอร์
   22 กันยายน 2551  ศูนย์กลางชายฝั่งพม่าตอนใต้ รู้สึกถึงตึกสูงในกรุงเทพมหานคร  ขนาด 5.2 ริคเตอร์
   23ธันวาคม  2551  อ.พระแสง  จ.สุราษฎร์ธานี  ขนาด  4.1  ริคเตอร์
   30 กันยายน 2552 ขนาด 7.9 ริคเตอร์ ศูนย์กลางที่เกาะสุมาตรา ตึกสูงในกรุงเทพมหานครรู้สึกถึงความสั่นไหว
   20 มีนาคม  2553 ขนาด 5.0 ริคเตอร์ ประเทศพม่าห่างจากพรมแดนไทย 80 กิโลเมตร รู้สึกสั่นสะเทือนที่ จ.เชียงราย
   5 เมษายน 2553 อ.เมือง อ.เวียงชัย จ.เชียงราย   ขนาด3.5 ริคเตอร์
   7เมษายน 2553  ขนาด 7.6 ริคเตอร์ที่เกาะสุมาตรา รู้สึกได้ที่อาคารสูงในกรุงเทพ หลายแห่ง
   9 พฤษภาคม 2553  ขนาด 7.3 ริคเตอร์ ที่เกาะสุมาตรา รู้สึกสั่นไหวอาคารสูง ใน จ.ภูเก็ต  จ.พังงา        จ.สงขลา จ.สุราษฎร์ธานี  และ จ.กรุงเทพมหานคร
   6กรกฎาคม 2553 ขนาด 4.5 ริคเตอร์  ที่พม่า รู้สึกได้ที่ อ.แม่สาย อ.แม่จัน  อ.เชียงแสน  อ.แม่ฟ้าหลวง  จ.เชียงราย
   4 กุมภาพันธ์ 2254 ขนาด 6.8 ริคเตอร์ ที่ชายแดนพม่า-อินเดีย  รู้สึกบนอาคารสูง กรุงเทพมหานคร
   23 กุมภาพันธ์ 2554  ขนาด 5.4 ริคเตอร์ ที่ลาว      รู้สึกที่แพร่    น่าน     อุดรธานี    เลย  หนองคาย  หนองบัวลำภู  ขอนแก่น  มหาสารคาม
   24 มีนาคม  2554  ขนาด 6.8 ริคเตอร์ ที่พม่า รู้สึกได้ในภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือและ อาคาร สูงในกรุงเทพมหานครหลายแห่ง และมีความเสียหายที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย
   30 เมษายน 2554  ทะเลอันดามัน จ.ภูเก็ต  ขนาด 4.4 ริคเตอร์
   10 พฤษภาคม 2554  ขนาด 4.0 ริคเตอร์ ที่พม่า  รู้สึกที่ อ.แม่สาย  จ.เชียงราย
   24 มิถุนายน 2554 กิ่งอำเภอหาดสำราญ จ.ตรัง  ขนาด 3.5 ริคเตอร์ รู้สึกที่ อ.กันตัง อ.ย่านตาขาว อ.เมือง จ.ตรัง
   6 กันยายน 2554  ขนาด 6.7 ริคเตอร์  ตอนเหนือเกาะสุมาตรา รู้สึกที่ อ.เมือง จ.ภูเก็ต    อ.หาดใหญ่       จ.สงขลา
   20 กุมภาพันธ์ 2555  อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา  ขนาด 2.7 ริคเตอร์
   5 มีนาคม 2555   ขนาด 5.2 ริคเตอร์ ตอนเหนือเกาะสุมาตรา รู้สึกไหวเล็กน้อยที่ จ. ภูเก็ต
   11 เมษายน 2555  ขนาด 8.6 ริคเตอร์ ชายฝั่งตะวันตกทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา รู้สึกได้ในหลายจังหวัดในภาคใต้และภาคกลาง รวมถึง ภาคอีสาน เกิดคลื่นสึนามิสูง  30ซม. ที่เกาะเมียง จ.พังงา
   16 เมษายน 2555  ต.ศรีสุนทร อ.ถลาง จ.ภูเก็ต  ขนาด 4.3 ริคเตอร์
   4 มิถุนายน 2555  อ.เมือง จ.ระนอง  ขนาด 4.0 ริคเตอร์

ตำแหน่งเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในประวัติศาสตร์ไทย

     1.บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสะโง ตอนกลางของประเทศพม่า
     2.บริเวณรอยต่อประเทศพม่า  ลาว  จีน  และไทย
     3.ทะเลอันดามัน หมู่เกาะอันดามัน-นิโคบาร์
     4.พื้นที่ครอบคลุมภาคทะเลอันดามัน  เกาะสุมาตรา  แผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รอยเลื่อนที่เกรงว่าจะมีผลกระทบต่อกรุงเทพมหานครมากที่สุด คือรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ซึ่งวางตัวตามแนวตะวันตกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงใต้ในจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งจุดที่ใกล้กรุงเทพมหานครมากที่สุดห่างจาก กทม. ประมาณ 150 ถึง 200 กิโลเมตร ระยะห่างถือว่าไกลพอสมควร แต่กรุงเทพตั้งอยู่บนชั้นดินที่เป็นดินเหนียวอ่อนซึ่งสามารถขยายความรุนแรงของการสั่นสะเทือนได้คล้ายกับกรุงเม็กซิโกซิตี้ ซึ่งเคยเกิดความเสียหายรุนแรงจากแผ่นดินไหวที่เกิดห่างออกไปกว่า 200 กิโลเมตรเมื่อปี ค.ศ.1985

เชียงใหม่เป็นอีกพื้นที่ในประเทศไทยที่อาจได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหว โดยเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2549 ได้ เคยเกิดแผ่นดินไหวที่อำเภอแม่ริม ขนาด 5.1 ริคเตอร์ ซึ่งทำให้อาคารบางหลังในบริเวณใกล้เคียงเกิดความเสียหาย แต่เป็นความเสียหายที่ไม่รุนแรง เพราะแผ่นดินไหวมีขนาดเล็ก ดังนั้นในอนาคตอาจเกิดแผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่กว่า หรือใกล้ตัวเมืองก็ได้ เพราะในภาคเหนือมีรอยเลื่อนขนาดเล็กกระจายอยู่หลายแห่ง

35 เบื้องหลังคน เบื้องหลังข่าว รอยเลื่อนในไทย 040454 Part 1 

 

35 เบื้องหลังคน เบื้องหลังข่าว รอยเลื่อนในไทย 040454 Part 2

 
 

ที่มา